Thursday, May 21, 2009

ขึ้นปี 3 แล้วครับ

หายไปหนึ่งปีเต็ม ๆ ลืมไปว่ามี web blog กับเขาเพราะปี 2 เรียนหนักมาก ๆๆๆๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pathology ตอนปี 1 ว่า Biochemistry หินสุด ๆ แล้ว
เจอวิชานี้แรดเรียกพี่เลย ปี 2 นี้เป็นปีสุดท้ายที่จะเรียน Medical Basic
Science ซึ่งประกอบด้วย Pathology, Microbiology,
Parasitology, Pharmacology และวิชาคลินิค คือ Medicine 1,
Surgery 1, Pediatrics 1, Obtetrics 1, Neurology,
Psychiatry และวิชา minor อื่น ๆ

ปีสองเป็นปีที่เรียนหนักที่สุดในบรรดา 3 ปี ที่ฟิลิปปินส์ การเรียน Classical
Curriculum เป็นหลักสูตรที่ต้องสอบกันบ่อย ๆ วิชาเรียนก็มีเนื้อหาจำนวน
มาก ทกวิชาก็เรียนคล้าย ๆ กับปี 1 ที่เรียนรู้เกี่ยวกับคนปกติมาแล้ว ขึ้นปี 2 ก็
จะเป็นการศึกษาการเกิดโรค เชื้อโรค ยา ตามรายวิชาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียน
ขอกล่าวถึงแต่ละวิชาโดยสังเขป ดังนนี้

Pathology เป็นวิชาที่มีชั่วโมงเรียนต่อสัปดาห์
มากที่สุด คือ 8 ชั่วโมง/สัปดาห์/ปี เป็นวิชารายปี เริ่มเรียนตั้งแต่การปรับตัว
ของเซลเมื่อมีความผิดปกติเรื่อยมาจนการเรียนชนิดของโรค การเกิดโรคในแต่
ละระบบซึ่งจะต้องอาศัยความเข้าใจในรายวิชา Anatomy (Gross Anatomy,
Histology,และ Neuroanatomy) และ Physiology ที่เรียนกันมาแทบ
ตายในชั้นปีที่ 1 มาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ในชั้นปีที่ 1 ถ้าผู้เรียนเข้าใจวิชา
เหล่านี้ก็จะไม่มีปัญหามากนักในการเรียนวิชานี้ สำหรับ Laboratory เป็นการ
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเซลเมื่อมีการเกิดโรค แน่นอนหากในชั้นปีที่ 1
ที่ศึกษาโครงสร้างของเซลปกติในวิชา Histology ไม่แตกฉานก็อย่าหวังว่า
จะจำแนกเซลที่ผิดปกติได้ การเรียนวิชานี้ต้องหมั่นศึกษาสไลด์ประกอบการ
สอน จำ Key word ที่สำคัญ ๆ ของโรค มันเป็นวิชาที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้
เรารู้จักโรค การเกิดโรค วิธีรักษาเบื้องตัน เนื่องจากเป็นวิชา Major ทั้งปีตัด
เกรดตัวเดียว ตกแล้วต้องซ้ำชั้นทั้งปี เสียค่าเทอมทั้งปี เพื่อเรียนวิชานี้ให้ผ่าน

Pharmacology ผู้ที่จะเรียนวิชานี้ต้องผ่านวิชา
Biochemistry มาก่อน Biochemistry วิชายาขมหม้อใหญ่ในปี 1
จะเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชานี้ในการอธิบายถึงกลไกการออกฤทธิ์ของยา
ตัวอย่าง เช่น การสังเคราะห์ Prostaglandin จาก Histidine เมื่อ
ถูกยับยั้งการสังเคราะหฺด้วย NSAIDs ก็จะเป็นการบรรเทาอาการปวดและ
การอักเสบ เป็นต้น หากเข้าใจ Biochemistry ก็จะศึกษาวิชา
Pharmacology ได้เป็นอย่างดี วิชานี้ต้องท่องชื่อยาที่เป็น Generic
name, ข้อบ่งชี้ในการใช้ ผลค้างเคียง กลไกการออกฤทธิ์ ฯลฯ มันส์
พะยะค่ะ ท่องกันให้หัวบานเลย เป็นวิชารายปีด้วย สอบตกเป็นอันว่าต้อง
รอเรียนอีกปีหน้า เทอมต้นเรียน 8 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมงสำหรับเทอม
ปลาย

Microbiology เป็นหลักสูตรรายปีเช่น
เดียวกัน เรียน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีทั้งภาคทฤษฎีและ Laboratory
วิชานี้อาจทรย์บอกว่าจำอย่างเดียว ไม่ต้องอาศัยความเข้าใจเหมือนวิชา
อื่น แต่เรียนไปแล้วมันต้องเข้าใจอยู่ดี และข้อสอบมันก็จำ ๆๆๆๆ อย่างที่
อาจารย์บอก เนื้อหามันก็มีความสำคัญเพราะมันคือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มอง
ด้วยตาเปล่าไม่เห็นที่ทำให้เกิดโรค เรียนรู้เรื่องยาที่จะมารักษาโรคที่เกิด
จากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น จำลักษณะที่พบทางห้องปฏิบัติการซึ่งข้อสอบ
ใบประกอบโรคศิลปะ ขั้นตอนที่ 1 ของบ้านเราออกข้อสอบเป็นจำนวน
มาก

Parasitology ปรสิตวิทยาเป็น
Semestral Course ที่เรียนในเทอมปลาย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดหนอนพยาธิ การระบาด การป้องกันและการรักษา
มีทั้งทฤษฎีและ Laboratory อาจารย์ที่สอนเป็นชุดเดียวกันกับ
รายวิชา Microbiology เนื่องจากเป็นรายวิชาในภาควิชาเดียวกัน
เป็นที่น่ายินดีที่ตำรา และ Atlas ที่ใช้ประกอบการสอนเป็นตำราไทย
(ภาษาอังกฤษ) จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
พวกเรานักเรียนไทยจมูกบานเป็นปลื้มกันไปเลย

Medicine I อายุรศาสตร์ 1 เป็นวิชา
คลินิค หลักสูตรรายปีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในภาคเรียนที่ 1 เรียน
รายวิชา Physical Examination การตรวจร่างกายวิชานี้ใช้
อาจารย์ผู้สอน 11 ท่านพอดี ทั้งหมดเป็นหมอเฉพาะทาง เช่น เรียนการ
ตรวจหู คอ จมูก ก็จะมีหมอเฉพาะทางมาสอน ชนิดจำชื่ออาจารย์ไม่ได้
เลยทีเดียว ตอนสอบก็มีข้อสอบเท่ากับจำนวนผู้สอน สอบไล่มีข้อสอบ
11 ชุดเลยทีเดียว ในภาคเรียนที่ 2 รายวิชาที่เรียนคือ
Pathophysiology ทั้งสองภาคเรียนมีภาคปฏิบัติสัปดาห์ละ 4
ชั่วโมง พวกเราได้รับการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยไปที่โรงพยาบาล 2 แห่ง
ในแต่ละภาคเรียน บนวอร์ดเราจะฝึกซักประวัติ ตรวจร่างกายคนไข้
เขียนรายงานการตรวจ และนำมามาอภิปรายกลุ่มย่อยกับอาจารย์
เป็นวิชาแรกที่ได้ฝึกเป็นหมอว่างั้นเถอะ Stethoscope,
Sphygmomanomitor และเครื่องมือการตรวจร่างกายอื่น ๆ ที่ซื้อ
กันมาก็จะได้นำมาใช้ในรายวิชานี้แหละ

Surgery I ศัลยศาสตร์ 1 ปีนี้เรียน
3 รายวิชา เพื่อตัดเกรดรวมเป็น Yearly Course เทอมต้น
เรียน 2 รายวิชา คือ Principles of Surgery และ
Minor Surgery ส่วนเทอมสองเรียน Surgical Diagnosis
การเรียนทั้งหมดยังเป็นภาคทฤษฎี เตรียมที่จะศึกษาบนหอผู้ป่วยใน
ชั้นปีที่ 3

Obstetrics I และ Pediatrics I เป็นรายวิชา Semestral
Course เรียนในภาคเรียนที่ 2 สูติศาสตร์ 1 จะเริ่มศึกษาจากการ
ทบทวนกายวิภาค และสรีรวิทยาของผู้หญิง การตกไข่ การปฏิสนธิ
การตั้งครรภ์ เรื่อยมาจนถึงการคลอดปกติ ส่วนกุมารเวชศาสตร์ 1 เริ่ม
ศึกษาจากพัฒนาการของเด็กแรกคลอดจนกระทั่งอายุ 18 ปี ทั้งสอง
วิชาจะเป็นพื้นฐานการเรียนการเกิดโรค และวิธีการรักษาในชั้นปีที่ 3








แล้วจะมาเขียนต่อ (อีกแล้ว)